การสืบสานศิลปวัฒนธรรมการทำ หมากสุ่ม หมากเป็ง และเครื่องสักการะตามประเพณีนิยม [22/08/2561]
ต้นดอกจะเป็นรูปทรงพุ่มคล้ายดอกบัวตูมหรือรูปทรงวงรีคล้ายไข่ไก่ โดยใช้ต้นกล้วยเป็นหลักในการทำโครงสร้างแต่จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าเพื่อให้สามารถรองรับน้ำหนักของดอกไม้และใบไม้ที่ปักลงบนแกนกลางของต้นกล้วย ใบไม้ที่นิยมนำมาประกอบเป็นต้นดอกคือ ใบเล็บครุฑ ต้นดอกของแต่ละชุมชนอาจมีสีสันแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ดอกไม้ที่จะนำมาปักบนพุ่มต้นดอกซึ่งแต่ละชุมชนอาจได้รับการปลูกฝังหรือถ่ายทอดแตกต่างกัน
อ้างอิง http://www.cmuc.cmu.ac.th/songkran.htm
ต้นเทียน เป็นการนำเทียนเล่มเล็กๆ มาผูกห้อยกับโครง เพื่อให้พระสงฆ์เก็บนำไปใช้สอยได้เลย สะดวกกว่าต้นผึ้งที่ต้องสะสมไปหล่อเทียนเอง
อ้างอิง http://www.cmuc.cmu.ac.th/songkran.htm
หมากสุ่ม คือ การนำผลหมากที่ผ่าซีกแล้วเสียบร้อยด้วยปอหรือด้ายผูกไว้เป็นพวงตากแห้งเก็บไว้กิน ซึ่งคนทางเหนือ
เรียก “หมากไหม” มาปักคลุมโครงไม้หรือโครงเหล็กที่ทำเป็นต้นพุ่มไว้
อ้างอิง http://www.cmuc.cmu.ac.th/songkran.htm
หมากเบ็ง มีลักษณะเดียวกับหมากสุ่มแต่ใช้ผลหมากดิบหรือหมากสุกทั้งลูกแทน มีจำนวน ๒๔ ลูก หรือมากกว่าตามความเหมาะสมของพาน ผูกติดตรึงโยงไว้กับโครงไม้หรือโครงเหล็กที่ทำเป็นพุ่มลักษณะการผูกโยงตรึงกันนี้ คนเหนือเรียกว่า “เบ็ง” จึงเป็นที่มาของชื่อต้นพุ่มชนิดนี้ ในภาพมิได้ทำเป็นพุ่มแต่ทำเป็นต้นแทน
อ้างอิง http://www.cmuc.cmu.ac.th/songkran.htm
|